มูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนรู้จักและเข้าใจถึงแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ด้วยการนำทักษะที่มีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill มาใช้ในแต่ละโอกาส เพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนและต่อยอดความรู้ความสามารถของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการเรียนรู้และการพัฒนาที่จะต้องทำตลอดชีวิต เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
มูลนิธิเอสซีจี ส่งเสริมแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ผ่านโครงการยุวศิลปินไทย Young Thai Artist Award ที่ศิลปินสามารถผสมผสานทักษะ Hard Skill และ Soft Skill ในการสร้างชิ้นงานศิลปะจนประสบความสำเร็จในชีวิต
มูลนิธิเอสซีจี เชิญชวนผู้สนใจในงานศิลปะ ร่วมงาน Young Thai Artist Award 2024 ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีหลากหลายกิจกรรมดังนี้
จากความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา นอกจากที่มูลนิธิเอสซีจีให้การสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาแล้ว ยังสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง
เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ในอดีต ได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในกิจวัตรประจำวันในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย แม้ว่าในปัจจุบันงานเครื่องจักสานจะมีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม คงทน เพื่อนำมาใช้เป็นของสะสม ของประดับมากขึ้น แต่การผลิตเพื่อใช้งานในพื้นที่ชนบทก็ยังคงมีอยู่ และงานจักสานส่วนใหญ่ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งมักจะพบปัญหา “มอด” กัดกินผิวไม้ที่นำมาใช้จักสาน ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นนั้นชำรุด
แม้เราจะคุ้นเคยกับคำกล่าวที่ว่า “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” หรือ “Lifelong Learning” กันมานาน แต่คงไม่มียุคไหนจะเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ได้ชัดเจนเท่าในยุคนี้แล้ว… ยุคที่ว่าคือยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท และได้เปลี่ยนชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ ยุคที่ AI คืบคลานเข้ามาแทนที่หลายสิ่ง นับจากนี้ต่อไปโฉมหน้าของโลกและชีวิตผู้คนจึงพร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอีกมาก นั่นแปลว่าหากเราไม่ปรับตัว หรือไม่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทักษะใหม่ๆ เราอาจกลายเป็น “คนตกยุค” หรือ “อยู่รอดได้ยาก” ในโลกที่เดินหน้าเร็วแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกของอาชีพการทำงาน ซึ่งเป็นภาคส่วนใหญ่ของชีวิตที่หลายคนเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า หลายอาชีพถูกลดบทบาทลง หลายอาชีพถูกแทนที่ และหลายอาชีพหายไปแล้วแบบที่เราไม่ทันได้รู้เนื้อรู้ตัวก็มี ขณะเดียวกันก็มีหลายอาชีพเกิดใหม่ พร้อมทักษะใหม่ และองค์ความรู้ใหม่ๆ อีกมากที่เราอาจไม่คุ้นเคย ..แล้วทางเลือก ทางรอดของชีวิตเรา อยู่ตรงไหน!? LEARN to EARN ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด หากวันนี้เราคือส่วนหนึ่งของบุคลากรในโลกของการทำงาน บางครั้งก็พบว่า ทักษะที่เรามีอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนหรือการจํากัดอายุผู้เรียนแทบจะไม่มีอีกต่อไป แต่จะกลายเป็น “การเรียนรู้อยู่มากกว่าแค่ในห้องเรียน” หรือ “การเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกยุค ทุกสมัย เป็น Lifelong Learning มูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่อยากเห็นคนทุกคนมี
คุณบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ต้อนรับคณะเยาวชนไทยที่เดินทางกลับจากการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานนานาชาติ WorldSkills Lyon 2024
มูลนิธิเอสซีจี มุ่งมั่นสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา