Skip to content

พลิกวิกฤตเปลี่ยนชีวิตสู่เจ้าของฟาร์มปูนา มีรายได้หลักแสนต่อเดือน และช่วยชุมชนให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน

พลิกวิกฤตเปลี่ยนชีวิตสู่เจ้าของฟาร์มปูนา มีรายได้หลักแสนต่อเดือน และช่วยชุมชนให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน นิม – นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ เจ้าของฟาร์มปูนา จังหวัดอุดรธานี การได้ไปทำงานต่างประเทศเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนใฝ่ฝันเพราะเงินรายได้ที่ได้รับสูงกว่าเมื่อเทียบกับทำงานในประเทศแม้ว่าจะต้องอยู่ห่างไกลครอบครัวก็ยอมแลกเพื่อมีเงินจุนเจือเลี้ยงดูตัวเองและส่งให้ครอบครัว กระทั่งปลายปี 2562 เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขึ้นที่มลฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน และเริ่มแพร่ระบาดกระจายทั่วทั้งประเทศจีนรวมถึงลามออกไปยังประเทศอื่น ๆ ผู้คนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศจีนในตอนนั้นต้องเดินทางกลับประเทศเช่นเดียวกับ นิม-นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ สาวอุดรฯ วัย 28 ปีที่ทำงานอยู่ประเทศจีนถูกยกเลิกงานโดยไม่มีกำหนดจากพิษโควิด-19 ต้องกลับบ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลากลับไปทำงานเป็นปีแต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะได้กลับไปจนเงินเก็บที่มีใกล้หมด กระทั่งได้พบกับโอกาสทำฟาร์มเลี้ยงปูนาจนสามารถพลิกชีวิตจากคนตกงานเป็นเจ้าของฟาร์มปูนาสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน พร้อมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปูนาส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จุดเริ่มต้นจากการแชร์ นิม ทำงานอยู่เอเจนซี่ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เป็นนายหน้าส่งคนไทยไปทำงานที่ประเทศจีนซึ่งเป็นงานจัดแสดงสินค้าหรืองานแฟร์ที่มีการแสดงโชว์เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมไทย เช่น รำไทย มวยไทย เป็นต้น นิมเพิ่งได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เพียงสามเดือนก็เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีน แล้วช่วงต้นปี 2563 บริษัทยกเลิกงานแล้วส่งพนักงานกลับประเทศโดยไม่มีกำหนด นิมกลับมาอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลาที่จะบินกลับไปทำงานเกือบปีจนเงินเก็บเริ่มร่อยหรอ วันหนึ่งแม่แชร์เฟซบุ๊กเพจของฟาร์มเลี้ยงปูนา นิมเห็นสิ่งที่แม่แชร์ก็รู้สึกสนใจและมองเห็นโอกาสจึงปรึกษากับแม่ว่าจะลองเลี้ยงปูนาเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขาย ประกอบกับบ้านที่อยู่เป็นบ้านสวนมีพื้นที่หลังบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 งาน จึงวางแผนจะใช้พื้นที่หลังบ้านทำเป็นฟาร์มเลี้ยงปูนา แรกเริ่มแม่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงปูนาเหตุเพราะนิมไม่เคยทำการเกษตรเพาะเลี้ยงอะไรมาก่อนกลัวว่าจะลงทุนไปแล้วเสียเปล่า แต่นิมมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเริ่มต้นลองทำอะไรใหม่
มูลนิธิเอสซีจี มอบถุงน้ำใจให้ฮีโร่กู้ภัย ส่งความห่วงใยให้กลุ่มคนดีจิตอาสา

มูลนิธิเอสซีจี มอบถุงน้ำใจให้ฮีโร่กู้ภัย ส่งความห่วงใยให้กลุ่มคนดีจิตอาสา

มูลนิธิเอสซีจีร่วมส่งกำลังใจและความห่วงใยให้พี่น้องกู้ภัยและจิตอาสา ที่เข้าระงับเหตุและช่วยเหลือประชาชนจากเหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้

ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ขอแค่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด

ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ขอแค่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด คริส โปตระนันทร์ นักกฎหมายผู้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และร่วมก่อตั้งกลุ่ม “เส้นด้าย” รถรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยมักรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์กับครอบครัว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา เหตุการณ์การสูญเสียครั้งนี้ เป็นการจุดประเด็นให้คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง คริส โปตระนันทน์นักกฎหมายร่วมกับเพื่อนตั้งกลุ่มประชาชนอาสาในนาม “เส้นด้าย” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19ที่ประสบปัญหาการเดินทางไปเข้ารับการตรวจรักษาโดยไม่แพร่เชื้อแก่ประชาชน ความสูญเสียคือจุดเริ่มต้นของกลุ่มเส้นด้าย “เราเห็นสถานการณ์ที่หลายฝ่ายต้องเจอกับความยากลำบากในช่วงนั้น คือการจัดหารถรับ-ส่งผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากผู้มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการ เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงอาจทำให้การรักษาล่าช้า ซึ่งบางรายต้องรอรับการรักษาอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งสายไปจนเกิดความสูญเสีย” จากเหตุการณ์การสูญเสียของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงทีจึงเป็นสาเหตุให้คุณคริสปรึกษากับเพื่อน ๆ ที่มีทั้ง นักกฎหมาย แพทย์ และกู้ภัย ร่วมกันตั้งกลุ่มอาสาสมัครขึ้นมาชื่อว่า “เส้นด้าย” เพื่อให้บริการรถรับ-ส่งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พาผู้ป่วยติดเชื้อไปโรงพยาบาลหรือผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจโดยทีมเส้นด้ายช่วยประสานหาคิวตรวจให้ โดยสมาชิกในกลุ่มต่างนำทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ อาทิ รถกระบะที่นำไปติดหลังคาแครี่บอยสำหรับให้ผู้ป่วยติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงนั่งอยู่ข้างหลังเพื่อความปลอดภัยระหว่างการรับ-ส่ง และโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาทำเป็นเบอร์ Call Center สำหรับให้คนติดต่อ เป็นต้น “ผมก็เลยเริ่มกันเลยครับเพราะผมมีรถกระบะอยู่หลายคัน แล้วก็ไล่โทรศัพท์หาเพื่อนว่ามีใครมีรถกระบะเพิ่มบ้างส่วน Call Center ก็ไม่ได้มีอะไรยากใครมีโทรศัพท์เครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้ เรานำทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้เอามาช่วยกัน วันนั้นเป็นวันที่ 27 เมษายน ก็เลยตั้งเพจกัน

มูลนิธิเอสซีจี มอบเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงแก่สถาบันประสาทวิทยา

คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมส่งมอบเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง แก่สถาบันประสาทวิทยา

วัคซีนอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงโควิด-19 ระบาด

ขณะนี้คนไทยกำลังให้ความสนใจกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 และมีความตื่นตัวในการลงทะเบียนจองคิวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้หลายคนลืมเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาทิ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีด 1 เข็มทุกปี หรือวัคซีนโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีจำนวนหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุแล้วเป็นชนิดที่รุนแรงก็จะทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

ด้วยใจไม่ทิ้งกัน

มูลนิธิเอสซีจี ส่งคลิป “ด้วยใจไม่ทิ้งกัน” เพื่อส่งมอบพลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยจิตอาสาทุกคน เพื่อขอบคุณที่ยังคงเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

จองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 และการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน

ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา และสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป การจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุดระบบการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 มีการปรับแผนใหม่โดยให้ชะลอการลงทะเบียนผ่าน LINE Official หมอพร้อมไว้ก่อน และให้แต่ละจังหวัดเริ่มดำเนินการเปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนในพื้นที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแทน ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนกับระบบหมอพร้อมไว้แล้วให้เป็นไปตามนัดหมายเดิม โดยระบบยังคงทำหน้าที่ติดตามการฉีดเข็มที่ 1, 2 ติดตามการรายงานผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน และออกใบรับรองการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-59 ปี และไม่ได้เป็นผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถลงทะเบียนได้ผ่าน3 ช่องทาง ดังนี้1. กลุ่มเข้าร่วมโครงการรัฐบาล อย่าง “เราชนะ” และ “คนละครึ่ง” สามารถลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านแอปฯ เป๋าตัง2. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com3. ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ ได้แก่

เกราะป้องกัน พร้อมกำลังใจ “มูลนิธิเอสซีจี” ส่งถึง “องค์กรทำดี”

มูลนิธิเอสซีจี ได้มอบ “แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ (Patient Isolation Capsule)” โดยพี่แป๊ด สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบให้แก่ทีมจิตอาสา “องค์กรทำดี” โดยมี คุณบุ๋ม ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ประธานองค์กรทำดี เป็นตัวแทนรับมอบ ซึ่งทีมงานพร้อมจะนำไปใช้งานทันทีเพื่อเคลื่อนย้าย และรับส่งผู้ป่วยโควิด-19​ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เพื่อให้จิตอาสาปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยต่อไป
มูลนิธิเอสซีจีส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์

มูลนิธิเอสซีจีส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรม ห้องแยกเชื้อความดันลบ 12 ห้อง มูลค่า 3 ล้านบาท แก่โรงพยาบาลราชวิถี

มูลนิธิเอสซีจีส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรม ห้องแยกเชื้อความดันลบ 12 ห้อง มูลค่า 3 ล้านบาท แก่โรงพยาบาลราชวิถี