รู้จักมูลนิธิเอสซีจี

2506
ตั้งกองทุน

ตั้งกองทุนเพื่อ
ทำประโยชน์แก่สังคม

บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ดำเนินกิจการครบ 50 ปี และ
บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ดำเนินกิจการ
ครบ 25 ปี และเนื่องในโอกาสนี้ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด จึงจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์แก่สังคม โดยมีเงินทุนเริ่มต้น 75,000 บาท และ บริษัทเอฟ.แอล.สมิดธ์ จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์กเป็นบริษัทคู่ค้าร่วม
บริจาคเงินแก่กองทุนอีก 25,000 เดนนิชโครน ประมาณ 75,000 บาท (ตามอัตราการแลกเปลี่ยนเงินในเวลานั้น) ซึ่งในระยะเริ่มต้นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ยังไม่แพร่หลาย ตลอดจนเงินทุนเริ่มแรกมีจำนวนน้อย
ดอกผลของกองทุนจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

2508
จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ

กองทุนได้รับอนุญาต
ให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ

2535
องค์กรสาธารณกุศล

มูลนิธิฯ ได้รับการประกาศเป็น
องค์กรสาธารณกุศล

ในปี พ.ศ.2535 มูลนิธิเอสซีจีได้รับการประกาศเป็นองค์กรสาธารณกุศล
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้บริจาคเงินและหุ้นเป็นกองทุนเพิ่มเติมให้มูลนิธิเอสซีจีนำดอกผลไปใช้ทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
อีกทั้งยึดถือเป็นแนวทางต่อมาว่าในปีใดมูลนิธิฯ มีรายได้จากเงินปันผลน้อย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จะจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาให้ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง เพราะการให้
ความช่วยเหลือและการรับผิดชอบต่อสังคมเป็นภารกิจที่หยุดพักไม่ได้

ปัจจุบัน

เจตนารมณ์มุ่งมั่น “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มูลนิธิเอสซีจีได้ปรับโครงสร้างองค์กร และนำเอา
กระบวนการบริหารจัดการของเอสซีจีมาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานทางสังคมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังมีการกำหนดยุทธศาสตร์ และปรับเปลี่ยนกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพความจำเป็นของสังคม อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นของเอสซีจีในการ ‘ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม’ และ
‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’ ต่อเนื่องมาตลอด

แนวทางการดำเนินงาน

มูลนิธิเอสซีจีเชื่อมั่นว่าสังคมคุณภาพต้องประกอบด้วยคนเก่งและดี
จึงมุ่งมั่นเสริมสร้างศักยภาพของคนโดยเน้นที่เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติในอนาคต
รวมถึงปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อจุดประกายให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ต่อสังคม
และขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความยั่งยืน

โดยตั้งแต่ปี 2564 มูลนิธิเอสซีจี มุ่งเน้นการทำงานใน 3 ด้าน คือ

การศึกษา
การศึกษา
การสาธารณสุข
การสาธารณสุข
การส่งเสริมอาชีพ
การส่งเสริมอาชีพ

การดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้