Skip to content

ขยายแนวคิด LEARN to EARN เสริมทักษะ บ่มเพาะนักพัฒนาชุมชนคนรุ่นใหม่ ให้มีความพร้อม เรียนรู้ เพื่ออยู่รอดได้ในชุมชน

มูลนิธิเอสซีจี จัดกิจกรรมงานปฐมนิเทศ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับต้นกล้าชุมชน 6-7 โดย มูลนิธิเอสซีจี

“มูลนิธิเอสซีจี” เร่งเดินหน้าขยายแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สร้าง Mindset การเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นคนทุกเจน-ทุกวัย

ร้อมเดินหน้าเตรียมจัดเสวนาใหญ่ หวังดันแนวคิดสู่คนทุกเจน-ทุกวัย ให้ทุกคนได้เข้าใจและให้ความสำคัญกับ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

LEARN to EARN เพราะชีวิต คือการเรียนรู้ ไม่มีที่สิ้นสุด “สุรพรชัย ธรรมศิริ” ว่าที่นักกายอุปกรณ์ ที่ไม่หยุดพัฒนาตนเอง เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่เพียงแค่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่าห้องเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือที่เรียกว่า Lifelong learning ที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ นำประสบการณ์นั้นมาพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น
มูลนิธิเอสซีจีเปิดเวทีแห่งโอกาสทางศิลปะ ขอเชิญชวนเยาวชนไทย ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2567 (ครั้งที่ 20) : Young Thai Artist Award 2024

มูลนิธิเอสซีจีเปิดเวทีแห่งโอกาสทางศิลปะ ขอเชิญชวนเยาวชนไทย ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2567 (ครั้งที่ 20) : Young Thai Artist Award 2024

มูลนิธิเอสซีจีเปิดเวทีแห่งโอกาสทางศิลปะ ขอเชิญชวนเยาวชนไทย ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2567 (ครั้งที่ 20) : Young Thai Artist Award 2024 ภายใต้ธีมการประกวด “Beloved Universe: บอกรักโลกด้วยศิลปะ”
ขยายเวลาต้นกล้าชุมชน ถึงวันที่ 7 เมษายน 2567

มูลนิธิเอสซีจี เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพแบบ ‘จึ้ง’ และ ‘ทำถึง’ เป็น #ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 7

มูลนิธิเอสซีจี ขอเชิญคนรุ่นใหม่ อายุไม่เกิน 35 ปีและมีหัวใจนักพัฒนา ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับบ้านเกิด เข้าร่วมโครงการ “ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 7” โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเป็น ‘ต้นกล้าชุมชน’ ต้องดำเนินโครงการตามที่ถนัดและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในชุมชน ภายใต้การดูแลและแนะนำจากพี่เลี้ยงที่เป็นนักพัฒนามืออาชีพในท้องถิ่น ตลอดจนเข้าร่วมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพตามที่มูลนิธิฯ กำหนด ตลอด 3 ปี เพื่อฝึกฝนพัฒนาความรู้ ความสามารถพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างงาน  สร้างอาชีพ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ถึง 7 เมษายน 2567 ดูรายละเอียดและกรอกใบสมัคร ได้ที่➡️ https://forms.gle/UtkFJgqG8uCwc8DL7 ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้ที่➡️ Facebook : การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดย มูลนิธิเอสซีจี

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง กสศ. และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น พัฒนา “ตัวแบบกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ” สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาตัวแบบกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพที่เชื่อมโยงกับโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนและแรงงานนนอกระบบ ภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ เพื่อผสานความร่วมมือในการขยายพื้นที่การทำงานของโครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างกองทุนอาชีพในชุมชน พร้อมหนุนเสริมการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษา แรงงานงานนอกระบบ  และผู้ด้อยโอกาส

“Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด” ผนึกกำลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ สร้างบุคลากรให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ให้เยาวชน เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว

มูลนิธิเอสซีจีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมานานกว่า 60 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้ให้ทุนการศึกษาไปแล้วกว่า 100,000 โดยเน้นหลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ หลักสูตรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve หลักสูตรด้านเทคโนโลยี IT เป็นต้น พร้อมขยายแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมูลนิธิเอสซีจี ได้จัดงาน Learn to Earn : The Forum จุดประกาย และเปิดมุมมองใหม่ ให้เยาวชน ได้เรียนรู้ ปรับตัว เพิ่มทักษะความรู้ และทักษะชีวิต (Soft skill & Hard skill)  ให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยได้ผนึกกำลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับเกียรติจาก 4 Key Drivers ของประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองผ่านการเสวนาหัวข้อ

มูลนิธิเอสซีจี จุดประกายขยายแนวคิด Learn to Earn หนุนคนรุ่นใหม่ ให้เรียนรู้ อยู่รอดได้ชุมชน

LEARN TO EARN เรียนรู้เพื่ออยู่รอด เป็นแนวคิดที่มูลนิธิเอสซีจีต้องการจุดประกายให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ตลอดจนสังคมได้ เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันรูปแบบการศึกษาได้เปลี่ยนไป เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่คือการเรียนรู้แบบ Active learning ทั้งทักษะวิชาชีพ (Hard skills) และทักษะด้านอารมณ์ และการเข้าสังคม (Soft skills) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต ตามพันธกิจหลักของมูลนิธิฯ ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้าง ‘คน’ ให้เติบโตเป็นคน ‘เก่ง และ ‘ดี’ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ขับเคลื่อนแนวคิด Learn to Earn โดยเริ่มจากสนับสนุนทุนการศึกษา และพัฒนาศักยภาพเยาวชน รวมทั้งให้โอกาสเยาวชนได้สร้างอาชีพให้กับตนเองและชุมชนของตน ยกตัวอย่างเช่น เป็ด จักรกริช ติงหวัง  ต้นกล้าชุมชน โดย มูลนิธิเอสซีจี นักพัฒนาชุมชนรุ่นใหม่ที่ปรับตัวจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การจัดการท่องเที่ยวชุมชนจนเป็นคนต้นแบบในการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดได้ชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Learn to Earn เป็ด

มูลนิธิเอสซีจี จุดประกายสังคมให้ Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ชูตัวอย่าง “ช่างมีด” รุ่นใหม่ เรียนรู้ ปรับตัว มีรายได้

การมีใบปริญญาติดฝาบ้าน ไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จในชีวิตอีกต่อไปแล้ว  เพราะชีวิตที่ประสบความสำเร็จของแต่ละคน ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับ การเรียนรู้ ความมุ่งมั่นพยายาม ปรับตัวการไขว่คว้าโอกาสที่เข้ามา กระทั่งจังหวะเวลา ของแต่ละคน ดังเช่นแนวคิด Learn to Earn ที่มูลนิธิเอสซีจี กำลังขับเคลื่อน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ทั้ง Hard Skill ทักษะเพื่อการประกอบวิชาชีพ  ผสานกับ Soft Skill หรือทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือและอยู่รอดได้ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอิร์ธ ธรรมรัฐ มูลสาร วัย 22 ปี จากโครงการต้นกล้าชุมชน โดยมูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างแนวคิดของการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด นี้ หลังจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้ว่าเพื่อนๆ ร่วมชั้น ต่างพากันเลือกเส้นทางชีวิตเข้าศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ ในหลากหลายมหาวิทยาลัย แต่ “เอิร์ธ” ค้นพบตัวเองว่า ไม่ใช่คนเรียนเก่ง จึงตัดสินใจเลือกเส้นทาง  ที่ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ   และมุ่งหาคำตอบและทางรอดของชีวิตเพื่ออนาคตของตนเอง เมื่อมีโอกาสเข้ามา “เอิร์ธ”  ตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินสายอาชีพ ผ่านการเรียนรู้ “การตีเหล็กโบราณ”

มูลนิธิเอสซีจี และ SCGP คว้ารางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมเตียงสนามกระดาษ สำหรับออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ตอกย้ำแนวคิดสร้างสรรค์ เน้นตอบโจทย์การใช้งาน ลดเหลื่อมล้ำในสังคม

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) โดยมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และแพทยสภา และ SCGP เดินหน้าสร้างประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้สังคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566 ในสาขาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรเพื่อสังคมและชุมชน จากผลงาน “นวัตกรรมเตียงกระดาษ สำหรับออกหน่วยเเพทย์เคลื่อนที่” ที่ร่วมกันสร้างสรรค์โดยทีมนักออกแบบ SCGP มูลนิธิเอสซีจี และ ปธพ. โดยต่อยอดจากเตียงสนามกระดาษที่เคยรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ให้สามารถตอบโจทย์การใช้สำหรับการปฏิบัติงานของแพทย์และการใช้บริการของผู้ป่วยในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทย ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างชัดเจน โดยในการประกวดครั้งนี้ มีองค์กรต่าง ๆ ร่วมส่งประกวดกว่า 300 องค์กร