มูลนิธิเอสซีจี จัดกิจกรรมงานปฐมนิเทศ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับต้นกล้าชุมชน 6-7 โดย มูลนิธิเอสซีจี
ร้อมเดินหน้าเตรียมจัดเสวนาใหญ่ หวังดันแนวคิดสู่คนทุกเจน-ทุกวัย ให้ทุกคนได้เข้าใจและให้ความสำคัญกับ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”
เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่เพียงแค่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่าห้องเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือที่เรียกว่า Lifelong learning ที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ นำประสบการณ์นั้นมาพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น
มูลนิธิเอสซีจีเปิดเวทีแห่งโอกาสทางศิลปะ ขอเชิญชวนเยาวชนไทย ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2567 (ครั้งที่ 20) : Young Thai Artist Award 2024 ภายใต้ธีมการประกวด “Beloved Universe: บอกรักโลกด้วยศิลปะ”
มูลนิธิเอสซีจี ขอเชิญคนรุ่นใหม่ อายุไม่เกิน 35 ปีและมีหัวใจนักพัฒนา ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับบ้านเกิด เข้าร่วมโครงการ “ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 7” โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเป็น ‘ต้นกล้าชุมชน’ ต้องดำเนินโครงการตามที่ถนัดและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในชุมชน ภายใต้การดูแลและแนะนำจากพี่เลี้ยงที่เป็นนักพัฒนามืออาชีพในท้องถิ่น ตลอดจนเข้าร่วมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพตามที่มูลนิธิฯ กำหนด ตลอด 3 ปี เพื่อฝึกฝนพัฒนาความรู้ ความสามารถพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างงาน สร้างอาชีพ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ถึง 7 เมษายน 2567 ดูรายละเอียดและกรอกใบสมัคร ได้ที่➡️ https://forms.gle/UtkFJgqG8uCwc8DL7 ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้ที่➡️ Facebook : การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดย มูลนิธิเอสซีจี
มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาตัวแบบกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพที่เชื่อมโยงกับโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนและแรงงานนนอกระบบ ภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ เพื่อผสานความร่วมมือในการขยายพื้นที่การทำงานของโครงการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างกองทุนอาชีพในชุมชน พร้อมหนุนเสริมการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษา แรงงานงานนอกระบบ และผู้ด้อยโอกาส
มูลนิธิเอสซีจีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมานานกว่า 60 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้ให้ทุนการศึกษาไปแล้วกว่า 100,000 โดยเน้นหลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ หลักสูตรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve หลักสูตรด้านเทคโนโลยี IT เป็นต้น พร้อมขยายแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมูลนิธิเอสซีจี ได้จัดงาน Learn to Earn : The Forum จุดประกาย และเปิดมุมมองใหม่ ให้เยาวชน ได้เรียนรู้ ปรับตัว เพิ่มทักษะความรู้ และทักษะชีวิต (Soft skill & Hard skill) ให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยได้ผนึกกำลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับเกียรติจาก 4 Key Drivers ของประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองผ่านการเสวนาหัวข้อ
LEARN TO EARN เรียนรู้เพื่ออยู่รอด เป็นแนวคิดที่มูลนิธิเอสซีจีต้องการจุดประกายให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ตลอดจนสังคมได้ เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันรูปแบบการศึกษาได้เปลี่ยนไป เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่คือการเรียนรู้แบบ Active learning ทั้งทักษะวิชาชีพ (Hard skills) และทักษะด้านอารมณ์ และการเข้าสังคม (Soft skills) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต ตามพันธกิจหลักของมูลนิธิฯ ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้าง ‘คน’ ให้เติบโตเป็นคน ‘เก่ง และ ‘ดี’ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ขับเคลื่อนแนวคิด Learn to Earn โดยเริ่มจากสนับสนุนทุนการศึกษา และพัฒนาศักยภาพเยาวชน รวมทั้งให้โอกาสเยาวชนได้สร้างอาชีพให้กับตนเองและชุมชนของตน ยกตัวอย่างเช่น เป็ด จักรกริช ติงหวัง ต้นกล้าชุมชน โดย มูลนิธิเอสซีจี นักพัฒนาชุมชนรุ่นใหม่ที่ปรับตัวจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การจัดการท่องเที่ยวชุมชนจนเป็นคนต้นแบบในการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดได้ชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Learn to Earn เป็ด
การมีใบปริญญาติดฝาบ้าน ไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จในชีวิตอีกต่อไปแล้ว เพราะชีวิตที่ประสบความสำเร็จของแต่ละคน ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับ การเรียนรู้ ความมุ่งมั่นพยายาม ปรับตัวการไขว่คว้าโอกาสที่เข้ามา กระทั่งจังหวะเวลา ของแต่ละคน ดังเช่นแนวคิด Learn to Earn ที่มูลนิธิเอสซีจี กำลังขับเคลื่อน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ทั้ง Hard Skill ทักษะเพื่อการประกอบวิชาชีพ ผสานกับ Soft Skill หรือทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือและอยู่รอดได้ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอิร์ธ ธรรมรัฐ มูลสาร วัย 22 ปี จากโครงการต้นกล้าชุมชน โดยมูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างแนวคิดของการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด นี้ หลังจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้ว่าเพื่อนๆ ร่วมชั้น ต่างพากันเลือกเส้นทางชีวิตเข้าศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ ในหลากหลายมหาวิทยาลัย แต่ “เอิร์ธ” ค้นพบตัวเองว่า ไม่ใช่คนเรียนเก่ง จึงตัดสินใจเลือกเส้นทาง ที่ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ และมุ่งหาคำตอบและทางรอดของชีวิตเพื่ออนาคตของตนเอง เมื่อมีโอกาสเข้ามา “เอิร์ธ” ตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินสายอาชีพ ผ่านการเรียนรู้ “การตีเหล็กโบราณ”
มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลัง นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) โดยมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และแพทยสภา และ SCGP เดินหน้าสร้างประโยชน์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้สังคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566 ในสาขาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรเพื่อสังคมและชุมชน จากผลงาน “นวัตกรรมเตียงกระดาษ สำหรับออกหน่วยเเพทย์เคลื่อนที่” ที่ร่วมกันสร้างสรรค์โดยทีมนักออกแบบ SCGP มูลนิธิเอสซีจี และ ปธพ. โดยต่อยอดจากเตียงสนามกระดาษที่เคยรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ให้สามารถตอบโจทย์การใช้สำหรับการปฏิบัติงานของแพทย์และการใช้บริการของผู้ป่วยในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทย ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างชัดเจน โดยในการประกวดครั้งนี้ มีองค์กรต่าง ๆ ร่วมส่งประกวดกว่า 300 องค์กร