Skip to content

อสม. คือหัวใจสำคัญในการทำงานจิตอาสาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย

หน้าที่หลักของพี่น้อง อสม.ในช่วงเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19 คือการลงพื้นที่ทำงานเชิงรุกเพื่อที่จะค้นหาว่ามีผู้ติดเชื้อเข้ามาในพื้นที่หรือไม่ รวมทั้งคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อรวบรวมข้อมูลแจ้งกับส่วนกลาง โดยใช้วิธีการเข้าไปทักทายพูดคุย ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ ทำให้เขารู้สึกว่า อสม.ก็เป็นญาติคนหนึ่งที่จะสามารถพูดคุยและเข้าถึงได้ง่าย ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจมีอะไรก็จะแจ้ง อสม. นี้คือหัวใจสำคัญในการทำงานจิตอาสาสาธารณสุขที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จ จนทั่วโลกยอมรับและชื่นชม ขอขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้พี่น้อง อสม.ทุกท่าน สู้ๆ ไปด้วยกัน

สถานการณ์โควิด-19 ของ รพ.ศิริราช และ New Normal โดยนพ.วิศิษฎ์ ผอ.รพ.ศิริราช

แม้เราผ่านพ้นช่วงวิกฤต แต่ชีวิตหลังจากนี้ไม่เหมือนเดิม อะไรที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์กลับมามีกำลังใจ และทำให้คนไทยชนะโควิดครั้งนี้ได้ ฟังบทสัมภาษณ์เต็ม ๆ จากนพ.วิศิษฎ์ ผอ.รพ.ศิริราช จากคลิปนี้ได้เลย

มูลนิธิเอสซีจีเปิดเวทีแห่งโอกาส จุดประกายคนรักงานศิลป์ แจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินรุ่นใหม่ ในโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2565 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 15-25 ปี ทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2565 หรือ Young Thai Artist Award 2022 เวทีประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวม 3,300,000 บาท โดยน้องๆ สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึง 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี น้องๆ เยาวชนที่สนใจและมีศักยภาพด้านศิลปะ เชิญมาปลดปล่อยพลัง โชว์ความสามารถ เปล่งประกาย Shine Your Way แจ้งเกิดเป็นดาวดวงใหม่ในวงการศิลปะ สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 กรกฎาคม 2565 *ยกเว้นสาขาวรรณกรรมปิดรับสมัครวันที่

มูลนิธิเอสซีจี หนุนเด็กไทยให้เรียนรู้เพื่ออยู่รอด มอบ 245 ทุนการศึกษา ตอบโจทย์โลกยุคใหม่

เพราะโลกในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว “มูลนิธิเอสซีจี” จึงเดินหน้าผลักดันภารกิจสนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” มุ่งสร้างอนาคตให้เยาวชนไทย มอบทุนการศึกษาในระดับ ปวส. และ ป.ตรี รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น ได้แก่ ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve ด้านเทคโนโลยี IT รวมถึงด้านการส่งเสริมอาชีพทั่วไป โดยในปี 2565 จะมอบทุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนทั่วประเทศทั้งหมด 245 ทุน โดยที่ผ่านมา มูลนิธิเอสซีจีได้มอบทุนการศึกษาภายใต้แนวคิด Learn to Earn ไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,700 ทุน รวมเป็นเงินกว่า 40 ล้านบาท ได้แก่ ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ด้านอาชีวศึกษา และด้านการส่งเสริมความสามารถ/ความเชี่ยวชาญระยะสั้นเพื่อการมีอาชีพ เป็นต้น ซึ่งในปีนี้ มูลนิธิฯ ยังได้เพิ่มทุนการศึกษาในสาขาใหม่ๆ ตามแนวคิด 

มูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษา “Learn to Earn” ปี 2565

มูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษา “Learn to Earn” ปี 2565​ สนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวคิด “Learn​ to​ Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด” มุ่งสร้างอนาคตให้เยาวชนไทย โดยมอบทุนการศึกษาในระดับ ปวส. และ ป.ตรี รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve ด้านพลังงานสะอาด และ E sport ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการให้ทุนแต่ละประเภททุนได้ดังนี้ ทุนระยะสั้น หลักสูตรฝึกอบรมการติดตั้งและบำรุงรักษา ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2565รายละเอียดการรับสมัคร ทุนอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2565รายละเอียดการรับสมัคร ทุนระดับปริญญาตรี สาขา E Sport เปิดรับสมัคร 1 – 31

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้านครปฐมและเครือข่าย ส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) แห่งแรกของไทย ให้ รพ.นครปฐม

มูลนิธิเอสซีจี นำโดย คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้าจังหวัดนครปฐม และมูลนิธิไทยพีบีเอส ร่วมส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy unit) แห่งแรกของไทย มูลค่า 5.17 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลนครปฐม โดยมี ดร.พญ.ดารารัตน์ รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมรับมอบ ซึ่งห้องชันสูตรความดันลบนี้ นอกจากจะลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขยายการให้บริการชันสูตรศพกับจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 700 ราย ต่อปี ลดภาระงานของโรงเรียนแพทย์ รวมถึงต่อยอดการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) มีขนาด 80.38 ตร.ม. สามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งระบบความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) เพื่อกำจัดเชื้อโรคและฝุ่น และระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร โดยมีพื้นที่การใช้งานทั้งสิ้น

คิกออฟ แนวคิด “Learn to Earn” มูลนิธิเอสซีจี จุดประกายคน Gen Z มุ่งปลูกฝังการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคนี้

 “มูลนิธิเอสซีจี” คิกออฟแนวคิด “Learn to Earn” เรียนรู้เพื่ออยู่รอด สร้างอนาคตเด็กและเยาวชน ผ่านภารกิจหลักในการมอบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนคน Gen Z  โดยการเสริมทักษะทางด้านความรู้ความสามารถ (Hard skill) และ ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Soft skill) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต พร้อมเดินหน้าสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โดยดึง สไปร์ท – เขื่อน และ ลูกกอล์ฟ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนคน Gen Z  นอกจากนี้ ยังจับมือกับ GMMTV จัดแคมเปญ ‘CLASS of 21st’ นำทัพศิลปินคนรุ่นใหม่ในสังกัดร่วมทำภารกิจที่ต้องอาศัยทักษะความรู้และการใช้ชีวิต ทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงการเรียนรู้ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “เมื่อก่อน เราอาจจะเคยเชื่อว่าการเรียนในห้องเรียนมีเพียงรูปแบบเดียวที่จำเป็นและเหมาะกับทุกคน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป  รูปแบบการเรียนรู้ก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย  ยิ่งโลกไร้พรมแดน ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น น้องๆ เยาวชนเองก็รู้จักตั้งคำถามกับตัวเองมากขึ้นว่าตนเองชอบอะไร ถนัดอะไร

มูลนิธิเอสซีจี มอบ “Modular ER” นวัตกรรมห้องฉุกเฉิน New Normal ให้ รพ.มหาราชนครราชสีมา หนุนนักรบด่านหน้าฝ่าวิกฤต และผู้ป่วยโควิดให้ปลอดภัย

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมห้องผู้ป่วยฉุกเฉินโมดูลาร์ (Modular ER) มูลค่า 8 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยมี นพ.ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมรับมอบ ซึ่ง Modular ER นี้ นับเป็นนวัตกรรมห้องฉุกเฉินรูปแบบใหม่ ที่จะรองรับการแพร่ระบาดของ COVID – 19 เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยปัจจุบันมีผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤตที่มารับการรักษาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน กว่า 200 รายต่อวัน ห้องฉุกเฉินโมดูลาร์ (Modular ER) มีขนาด 160.99 ตรม. มีจำนวนเตียง 5 เตียง  ออกแบบเพื่อแยกและรองรับผู้ป่วยโควิดฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป ทำให้สามารถรักษาได้รวดเร็วลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย หรือการสูญเสียชีวิต อีกทั้งยังเป็นเกราะป้องกันให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานได้อย่างปลอดภัย โดยห้องดังกล่าวมีระบบควบคุมแรงดันอากาศอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ด้วยระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม พื้นที่การใช้งานแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6