มูลนิธิเอสซีจีมีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 เพื่อช่วยให้สามารถปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค พร้อมตัวกรองอากาศ HEPA Filter และระบบ Bio-polar Ion เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจหลุดรอดเข้ามา โดยพื้นที่ของผู้ที่มีความเสี่ยงและเข้ามาคัดกรองจะเป็นพื้นที่โล่งภายนอกเพื่อให้อากาศถ่ายเท ส่วนการสอบถามอาการจะคุยผ่านทาง intercom ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit) ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ โดยแพทย์อยู่ห้องความดันบวกเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจะสะอาดและปลอดภัย ส่วนคนไข้อยู่ในห้องความดันลบเพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งไปนอกห้อง โดยแพทย์จะตรวจคนไข้และดำเนินการเก็บตัวอย่าง (Swab) ผ่านช่องที่เจาะไว้และมีถุงมือสวมใส่ป้องกันการติดเชื้อ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่(Negative Pressure Isolation Room) นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ผลิตจากโครงโลหะที่มีความแข็งแรง ครอบด้วยผ้าใบ และพลาสติก PVC แบบใส
หากเปรียบการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นยุทธศาสตร์การรบกับศัตรูที่มองไม่เห็นและไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ทหารด่านหน้าที่ต้องต่อสู้ก็คือ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ ซึ่งต้องรับมือการตรวจและคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ก่อนส่งต่อเพื่อการรักษาเฉพาะในขั้นตอนต่อไป ทว่าการสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าผู้ป่วยรายนั้นติดเชื้อไวรัสและเป็นพาหะของโรคโควิด-19 หรือไม่ จึงทำให้บุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อไวรัสโดยตรง ดังนั้นการติดอาวุธและเครื่องป้องกันด้วยนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบชุดขาว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 มูลนิธิเอสซีจี มีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 โดยมีจุดเริ่มต้นจากทีมนักวิจัยของเอสซีจีได้ร่วมพูดคุยกับคณะแพทย์ของโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นเสมือนการผนึกกำลังของนักรบทัพหน้าและทัพหลัง เพื่อช่วยปฏิบัติภารกิจสร้างยุทธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ในการปกป้องเชื้อไวรัสภายในระยะเวลาอันสั้น จนกระทั่งเกิดเป็นนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค ห้องตรวจหาเชื้อ ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการตรวจวินิจฉัย (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้าย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan ออกแบบให้มีขนาดพอดีสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ
เพราะสังคมไทยคือสังคมแห่งการแบ่งปัน ไม่ว่าวิกฤตที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เมื่อคนไทยร่วมมือกัน เสียสละแรงกายแรงใจ เราก็จะผ่านมันไปได้ด้วยรอยยิ้มเสมอ เป็นพลังของการทำความดีโดยไม่หวังผลใดตอบแทน เป็นจิตใจที่มุ่งหวังให้สังคมดีขึ้น และนั่นคือพลังของ ‘จิตอาสา’ นั่นเอง ในวิกฤตโควิด-19 นี้ก็เช่นกันที่เราได้เห็นถึงพลังเล็กๆ จากเหล่าจิตอาสาที่ร่วมมือกันเพื่อประคับประคองเพื่อนร่วมสังคมยามลำบาก เป็นการบรรเทาความทุกข์ยากแก่ผู้ด้อยโอกาสกว่า เป็นการส่งต่อพลังบวกและความปรารถนาดีต่อกัน มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นและมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนับสนุนจิตสาธารณะเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้จริง เราจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงจิตอาสาและความต้องการของผู้ด้อยโอกาสให้ทอดถึงกันผ่านโครงการความร่วมมือจากหน่วยงานในหลายๆ ภาคส่วน อาทิ โครงการหน้ากากผ้า สร้างเกราะป้องกัน แบ่งปันความห่วงใย ในห้วงวิกฤตที่สังคมไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัย ไม่ว่าใครก็ต้องการด้วยกันทั้งสิ้น บางคนที่มีโอกาสมากกว่าก็อาจจะหาช่องทางในการซื้อได้ มีหลายคนยอมเสียสละเพื่อให้คนที่มีความจำเป็นกว่า เช่น บุคลากรทางการแพทย์ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่มีแม้แต่ช่องทางหรือกำลังทรัพย์ที่จะจัดหาหน้ากากอนามัยให้ตัวเองและครอบครัวได้ ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิเอสซีจีจึงเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนจิตอาสา ทั้งพนักงานของเอสซีจีเองและบุคคลทั่วไป มาร่วมกันผลิตหน้ากากผ้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ที่จำเป็นแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เริ่มจากพี่น้องร่วมงานใกล้ตัวอาทิ พี่ๆ พนักงานรักษาความปลอดภัย ที่ต้องเป็นด่านหน้าในการพบปะกับผู้ที่เข้ามาติดต่อพี่ๆ แม่บ้านที่ยังคงต้องเข้ามาทำงานทุกวันเพราะเป็นกำลังหลักของครอบครัว และพี่ๆพนักงานเดินเอกสารที่มีความเสี่ยงต้องสัมผัสกับสิ่งของต่างๆมากมาย นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังได้รับความร่วมมือที่ดียิ่งจากชุมชนในเครือข่าย“ ต้นกล้าชุมชน” ที่มีจิตอาสาร่วมกันผลิตหน้ากากผ้าในราคาย่อมเยาช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนทำให้ผลิตได้กว่า1,500ชิ้น โดยได้ความร่วมมืออันดีจากThaiPBS ในการส่งต่อหน้ากากผ้าเหล่านี้ไปยังมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เพื่อมอบให้กับเด็กๆ ที่ไร้บ้านและขาดโอกาส ซึ่งช่วยสร้างรอยยิ้มและความปลอดภัย จะเห็นได้ว่าจากแค่จิตอาสาของคนไม่กี่คนที่อยากช่วยเหลือคนอื่นก็สามารถรวมกันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ เป็นรอยยิ้ม เป็นกำลังใจที่เราได้มอบให้แก่กัน โครงการปันโอกาส อีกหนึ่งโครงการ ที่มูลนิธิเอสซีจีส่งเสริมเรื่องจิตอาสาต่อเนื่องมากว่า 14 ปี
คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งมอบชุดอุปกรณ์ปฏิบัติหน้าที่ (อสม.Kits) แก่นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง และส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของฮีโร่เหล่านี้
มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 18-25 ปีทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาปล่อยของ ประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 หรือ Young Thai Artist Award 2020
มูลนิธิเอสซีจี ติดตั้ง “ตู้ปันน้ำใจ” เพื่อเป็นตู้น้ำใจ ร่วมแบ่งปัน ซึ่ง “โครงการตู้ปันน้ำใจ” เป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงกันระหว่าง “ผู้ให้” ที่มีกำลังหรือพอมีเหลือเพื่อแบ่งปัน กับ “ผู้รับ” ที่กำลังประสบภาวะยากลำบากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
คุณวิชาญ จิตร์ภักดี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี (คนแรกจากซ้าย) และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Chamber) แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มูลนิธิเอสซีจี โดย คุณแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ พร้อมด้วย คุณสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ร่วมส่งมอบห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบเคลื่อนที่ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
"ชุมชนชวนช้อป” คือกลุ่มใน Facebook ที่เราตั้งใจให้เป็นตลาดนัดชุมชนออนไลน์… เชื่อมโยงผู้ผลิตจากชุมชนทั่วไทย ที่ตั้งใจนำความสดใหม่ของสินค้า หรือเอกลักษณ์ จากท้องถิ่น มาแบ่งปันให้กับเพื่อนผู้ซื้อ ที่อยากอุดหนุนสินค้าคุณภาพ ด้วยหวังว่าจะช่วยแบ่งปันความสุขทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ
สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณพิทยา จั่นบุญมี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี และคุณวัทธยา พรพิพัฒน์กุล คณะทำงานมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนส่งมอบนวัตกรรมห้องตรวจหาเชื้อ (Modular swab unit) 1 ยูนิต ให้โรงพยาบาลศิริราช