มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูปจำนวน 8 ห้อง มูลค่า 640,000 บาท ให้โรงพยาบาลสนามของกรุงเทพมหานคร โดยมี นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ นพ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เป็นตัวแทนรับมอบ
การต่อสู้กับโควิดระลอกใหม่กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจังหวัดสมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 คน และยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกต่อไป นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันและตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือศูนย์กักกัน คนเหล่านี้ใส่ “เสื้อสีฟ้า” พวกเขาคือ “หมออนามัย” ซึ่งปฏิบัติงานอย่างหนักเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 หมออนามัย คือใคร “หมออนามัย” หรือนักรบเสื้อฟ้า คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ (SWAB) งานทางระบาดวิทยา (การคัดกรอง การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน (การตรวจเยี่ยม/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมติดตามตรวจเคสที่ถูกกักกัน 14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องแก่ประชาชน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ผู้นำกองกำลังนักรบเสื้อฟ้าฟันฝ่าโควิด จากที่ทราบดีว่าตลาดกลางกุ้งเป็นศูนย์กลางระบาดของเชื้อโควิด-19 และในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครมีโรงงานกว่า
หลังจากการกลับมาของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ได้มีการยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” กับ “ไทยชนะ” ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อขจัดข้อสงสัยเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองแอปฯ ถึงวัตถุประสงค์การใช้งานและความจำเป็นในการดาวน์โหลดติดตั้ง
การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์ แรงงานต่างด้าวโดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการซึ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแรงงานต่างด้าวพักอยู่รวมกันอย่างแออัดจึงเกิดการติดเชื้อจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมกว่า 27,494 คน (ยอด ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564) และกระจายไปกว่า 30 จังหวัด มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยในความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องทันทีทั้งทางด้านนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและให้กำลังใจกับนักรบแถวหน้าและผู้ป่วยผ่านสื่อต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร” ขึ้น จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง โดย ณ เวลานั้นศูนย์ห่วงใยคนสาครบางแห่งยังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อที่อยู่ในศูนย์ฯ มูลนิธิเอสซีจีพร้อมเพื่อนพนักงานเอสซีจี และชมรมช้างปูนเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูปลดเสี่ยงติดเชื้อ (Modular Bathroom)” ทั้งหมด 32 ห้อง แยกชาย-หญิง และผู้สูงอายุ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 3,400,000 บาท มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร”เทศบาล ตำบลนาดี วัฒนาแฟลคตอรี่
มูลนิธิเอสซีจี ต้อนรับทีมงานมูลนิธิสายธาร เครือเบทาโกร นำโดยคุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการมูลนิธิสายธาร และ คุณนิวิฐ ตั้งเลิศไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิสายธาร
“โอมเริ่มต้นแรงบันดาลใจในการทำความดี จากการเห็นลูกพี่ลูกน้องทำงานกู้ภัย บวกกับตัวเองเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดแพร่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ผู้เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ พ่วงแบตเตอรี่ ลากรถ เก็บศพ อื่นๆ ก็ทำหมด ตลอด 24 ชม.ครับ
“ช่วงนี้ของผมก็คงเหมือนกับเพื่อนๆ คนอื่นๆ ต้องเรียนออน์ไลน์ที่บ้าน แต่อาจจะต่างตรงที่ว่าทางบ้านของผมฐานะค่อนข้างลำบาก ผมจึงต้องทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เหนื่อยแต่ก็ทำได้ครับ
คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กเก่งและดี ที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการ "เก่งจริงชิงค่าเทอม" ทางช่อง one31 ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมมอบถุงน้ำใจ ซึ่งบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค พร้อมด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ และปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย จำนวน 100 ชุด
ชุด PPE จำนวน 700 ชุด จากโครงการ "สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19" โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งถึงมือแพทย์และเจ้าหน้าที่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครแล้ว